วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ช เฮง ธุรกิจดูเหมือนธรรมดาที่ไม่ธรรมดา

3 องค์กรไทยที่เป็นแรงผลักดันให้กับรัฐบาล ประกอบด้วย

  1. สภาอุตสาหกรรม
  2. สภาหอการค้าไทย
  3. สมาคมธนาคารไทย

ความเคลื่อนไหวในภูมิภาคมีการขัดแย้งมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ และ ความเคลื่อนไหวในภูมิภาค ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว โดยพื้นฐานในเรื่องผลประโยชน์เป็นเกณฑ์ เช่น ครอบครัว ชิณวัตรและครอบครัวฮุนเซน เป็นต้น

ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement : TPP) เป็นความตกลงการค้าเสรีกรอบพหุภาคีที่มีมาตรฐานสูง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการบูรณาการทางเศรษฐกิจในด้านการเปิดตลาดการค้าสินค้า บริการและการลงทุน การปฏิรูป การสร้างความสอดคล้องในกฎระเบียบทางเศรษฐกิจให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น นโยบายการแข่งขัน การจัดซื้อโดยรัฐ ทรัพย์สินแห่งปัญญา มาตรฐานแรงงาน และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น



ผู้ก่อตั้งหลักๆๆของอาเซียน ประกอบด้วย
  1. ไทย ประชากร 67 ล้านคน
  2. มาเลเซีย ประชากร 28.3 ล้านคน
  3. อินโดนีเซีย ประชากร 243 ล้านคน
  4. ฟิลลิปปินส์ ประชากร 99.9 ล้านคน
  5. สิงค์โปร ประชากร 4.72 ล้านคน
  6. บรไน ประชากร .395 ล้านคน
  7. เวียดนาม ประชากร 89.6 ล้านคน
  8. ลาว ประชากร 6.37ล้านคน
  9. เมียนม่าร์ ประชากร 53.5 ล้านคน
  10. กัมพูชา ประชากร 14.8 ล้านคน
สัดส่วนวัตถุดิบที่ตกลงกันในอาเซียน RVC (Regional Value Content) 

เราต้องรู้จักใช้ประโยชน์ด้านภาษีศุลกากร ภายใต้ข้อตกลง AFTA 

Harmonized System (HS) สินค้าทุกตัวจะมีหมายเลขที่เรียกว่า HS

ASEAN Harmonized Tariff Nomenclature (AHTN) การแยกย่อยของหมายเลขประจำตัวสินค้าเพื่อให้ละเอียดมากขึ้น

ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า CERTIFICATE OF ORIGIN

  1. คำขอ Form D
  2. ออกใบ Form D
  3. Form D
  4. นำเข้าใช้ Form D
  5. ศุลกากร
โดยแต่ละประเทศจะแตกต่างกันออกไปตามข้อแตกต่างกัน เช่น จีน Form E ซึ่งอาจได้ลดภาษีอีกด้วย

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง ก่อตั้งในปี 2535
  1. ไทย
  2. ลาว
  3. เมียนมาร์
  4. กัมพูชา
  5. เวียดนาม
  6. จีน กว่างซี
  7. จีน หยุนหนาน เมืองเอกของเขาคือ คุนหมิง 
ประเทศไทย ประตูสู่อาเซียน และ ประเทศจีน

  • Southern Economic Corridor (SEC)
  • East West Economic Corridor (EWEC)
  • North South Economic Corridor (NSEC)
  • R3B
จุดข้ามแดน 8 ด่านศุลการกร

  1. แม่สาย
  2. ชียงของ
  3. แม่สอด
  4. ปาดังเบซ่าร์
  5. หนองคาย
  6. มุกดาหาร
  7. อรัญประเทศ
  8. สะเดา
  • การค้าชายแดนของไทยเพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 2555 มูลค่าการค้าชายแดนสูงถึง 910,500 ล้านบาท
  1. มาเลเซีย 58 %
  2. ลาว 19 %
  3. เมียนมาร์ 14 %
  4. กัมพูชา 9 %
สัดส่วนการค้าการขนส่ง โดยใช้ทางถนน 86% ทางน้ำ 12% ทางรถไฟ 2 % ทางอากาศ 2%

กฎระบียบ EU ถ้าตรวจสอบเกิน 5 ครั้ง จะห้ามการนำเข้าอีก 

GAP เป็นมาตราฐานสินค้าเกษตร


GAPคืออะไร

การผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม หรือ Good Agriculture Practices (GAP) หมายถึง แนวทางในการทำการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนและขบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค มีการใช้ทรัพยากรที่เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดความยั่งยืนทางการเกษตรและไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยหลักการนี้ได้รับการกำหนดโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
GAP ในประเทศไทย
การนำหลักเกณฑ์ของ GAP มาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ณ ปัจจุบัน มีดังนี้
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (Good Agriculture Practices : GAP)
สำหรับประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการตรวจรับรองระบบการจัดการคุณภาพ : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) โดยได้กำหนดข้อกำหนด กฎเกณฑ์และวิธีการตรวจประเมิน ซึ่งเป็นไปตามหลักการที่สอดคล้องกับ GAP ตามหลักการสากล เพื่อใช้เป็นมาตรฐานการผลิตพืชในระดับฟาร์มของประเทศ รวมทั้งได้จัดทำคู่มือการเพาะปลูกพืชตามหลัก GAP สำหรับพืชที่สำคัญของไทยจำนวน 24 ชนิด ประกอบด้วย
ผลไม้ ทุเรียน ลำไย กล้วยไม้ สับปะรด ส้มโอ มะม่วง และส้มเขียวหวาน
พืช ผัก มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง ผักคะน้า หอมหัวใหญ่ กะหล่ำปลี พริก ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ผักกาดขาวปลี ข้าวโพดฝักอ่อน หัวหอมปลี และหัวหอมแบ่ง
ไม้ดอก กล้วยไม้ตัดดอก และปทุมมา
พืชอื่นๆ กาแฟโรบัสต้า มันสำปะหลัง และยางพารา


สัดส่วนตลาดส่งออก อาหารของไทย
  • Asean 26%
  • Japan 14%
  • EU 12%
  • USA 11%
  • CHINA 11%
สถิติคนที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทย มีประมาณ 22 ล้านคน โดยส่วนใหญ่เป็นคนจีน โดยส่วนใหญ่จะมี 3 ประเทศที่ ชาวจีนจะไปเที่ยว ประกอบด้วย ไทย สิงค์โปร์ และ มาเลเซีย แต่ปัจจุบันนิยมมาไทยมากที่สุด

RCEP ย่อมาจาก Regional Comprehensive Economic Partnership หรือภาษาไทย คือ “ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคของอาเซียน”
หมายถึงข้อริเริ่มของอาเซียนในการขยายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยการจัดทำความตกลงการค้าเสรีร่วมกันเป็นฉบับเดียว โดยเริ่มแรกมีเป้าหมายจะจัดทำความตกลงดังกล่าวกับประเทศภาคีFTAs ปัจจุบันของอาเซียน หรือ ASEAN+6 (คือ ASEAN และ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอินเดีย) ที่สนใจเข้าร่วมก่อน ส่วนประเทศอื่นๆ จะสามารถเข้าร่วมได้ภายหลังจากที่การเจรจา RCEP เสร็จสิ้นแล้ว ทั้งนี้อาเซียนคาดว่าจะสามารถประกาศเริ่มการเจรจา RCEP ได้ภายใน ปลายปี2555 หรือไม่เกินต้นปี2556
ล่าสุด 22 พ.ย.2555 ผู้นำอาเซียนและผู้นำประเทศคู่เจรจา 6 ประเทศ ได้แก่ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ประกาศเปิดการเจรจาการจัดทำความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership หรือเรียกว่า RCEP) ซึ่งถือเป็นความตกลงที่มีผลกระทบสูง (high impact) ต่อเอเชียและแปซิฟิก ด้วยขนาดตลาดที่ใหญ่รวมกัน 3,358 ล้านคน และมีสัดส่วนการค้าที่มีมูลค่าเศรษฐกิจรวมกันสูงถึง 17.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดย RCEP อยู่ 5 ฉบับ กับ 6 ประเทศ ให้เป็นความตกลงการค้าเสรีร่วมกันฉบับเดียว โดยมีอาเซียนเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ครอบคลุมทุกมิติการค้า (สินค้า บริการ ลงทุน มาตรการการค้า ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ) หากการเจรจาประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มเจรจาได้ในต้นปี 2556 และมีเป้าหมายเจรจาให้เสร็จในปี 2558 อันเป็นปีที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ไม่เพียงแค่นั้น ไทยยังได้ประกาศความร่วมมือข้าวกับ 5 ประเทศอาเซียน ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ด้วย

การประกวดข้าวที่อร่อยที่สุด คือ ข้าวหอมมะลิ กัมพูชาอร่อยที่สุดในโลก 2 ปีซ้อน โดยผลผลิตข้าวเฉลี่ยต่อไร่มากที่สุด ประกอบด้วย

  1. เวียดนาม 862.4 กก/ไร่
  2. อินโดนีเซีย 801.6 กก/ไร่ 
สิ่งที่กำลังเปลี่ยนแปลงใน Asean
  1. ภาษีศุลกากร
  2. พื้นที่ตลาด
  3. การแข่งขัน
  4. มาตรการทางการค้า
  5. การลงทุน
  6. เงินทุนเคลื่อนย้าย
  7. การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ เช่น แพทย์อายุรกรรม ทันพแพทย์ พยาบาล นักบัญชี สถาปนิก 
มาตรการกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษี
  • การทุ่มตลาด
  • การอุดหนุน
  • ถิ่นกำเนิดสินค้า
  • การประเมินราคา
  • มาตรการปกป้อง
  • การออกใบอนุญาตนำเข้า 
  • อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า TBT
  • การตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออก Preshipment Inspecion
  • มาตรการสุขอนามัน + สขอนามัยพืช SPS
  • การบริหารโควตาภาษี
  • มาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับการค้า
  • มาตรฐานแรงงาน
  • การปิดฉลาก
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC
ในสายตานักลงทุน ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจภายใน ภายนอกประเทศ เริ่มมองปรเทศไทยแย่ลงด้วยเกิดจากการขัดแย้งกันทั้งภายใน และ การเมือง จึงทำให้มีผลลบต่อประเทศไทย

AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติใน Asean เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง จะทำให้มีผลประโยชน์, อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า
Asean จะรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลจริงๆจังๆ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ณ วันนั้นจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างมาก


E-Commerce ประชากรไทยยังใช้ INTERNET เพียง 18.3 ล้าน ซึ่งเราเป็นประเทศที่เราต้องพัฒนามากขึ้น โดยตลาดที่ใหญ่ในปัจจุบันคือ ประเทศจีน วึ่งซื้อขายสินค้าใน INTERNET

มองหาหุ้นส่วนธุรกิจ
  • ฐานะเงินทุน
  • เครื่อข่ายการจำหน่าย
  • การบริการลูกค้า
ช เฮง ทำธุรกิจเกี่ยวกับข้าวเป็นหลัก โดยสินค้าจะทำมาจากการแปรรูปจากข้าว มี คนงาน 1500 คน แบ่งเป็น 3 กะ สิ่งที่อยากที่สุดในการจัดการคือ คน มีการผลิตน้ำใช้เอง ตลอดจนมีการผลิตแผงโซ่ลาเซลล์ โรงงานบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นการร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทย และ รัฐบาลญี่ปุ่น






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น