วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556
รูปแบบการจัดการซัพพลายเชน
Review รูปแบบการจัดการซัพพลายเชนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของ คุณ นุชนรา รัตนะศิระประภา มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2542
สถานศึกษาเป็นองค์กรหนึ่งในระบบสังคม ระบบเปิดมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง การดำเนินงานตามภารกิจหลักของสถานศึกษา สามารถจัดในรูปแบบเชิงระบบ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า (input) กระบวนการ (process) และผลผลิต (out put) ที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอก
ปัจจัยนำเข้าในระบบการศึกษา คือ ทรัพยากรทางการศึกษา ได้แก่ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ และ นโยบาย
กระบวนการ ได้แก่ กระบวนการบริหาร กระบวนการนิเทศ และ กระบวนการจัดการเรียนการสอน
ผลผลิต และ จุดหมายของหลักสูตร หรือ ประสิทธิผลของสถานศึกษา
ผลการวิจัย
องค์ประกอบการจัดการซัพพลายเชนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ
1 การวางแผนกลยุทธ (School Strategic Planning ) การวิเคราะห์ปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานครอบคลุมทั้งโครงสร้าง นโยบาย ผลผลิตและบริการ บุคลากร ประสิทธิภาพ การเงิน วัสดุ ทรัพยากร และการจัดการ นำผลการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกและภายในมาจัดลำดับ ประเด็น แยกเป็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค และ มีการทบทวนและปรับปรุงแผนปฏิบัติการประจำปีทุกปี
2 การจัดระเบียบระบบงาน (School Performance Alignment) มีระบบงานสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการสถานที่เข้มแข็ง มีระบบปฏิบัติงานประกันคุณภาพสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล และประสิทธิภาพ และ ออกแบบโครงสร้างสถานศึกษาให้มีลักษณะยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้สอดคล้องกับภารกิจของสถานศึกษา
3 การเน้นการเรียนการสอน (Teaching&Learning Orientation) สถานศึกษามุ่งสร้างความสำเร็จทางวิชาการตามศักยภาพของนักเรียนเป็นรายบุคคล สถานศึกษาส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนทุกวิถีทาง สถานศึกษาจัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่หลากหลาย ครอบคลุมให้นักเรียนได้เลือกศึกษา ตามความต้องการ ความสามารถ ส่งเสริมให้ครูผู้สอนทำวิจัยในชั้นเรียน
4 เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) มีผู้ดูแลระบบเครือข่ายสารสนเทศที่มีความชำนาญ มีการเชื่อมโยงระบบการสื่อสาร การจัดข้อมูลทั่วองค์กร มีการแบ่งปันข้อมูลสารสนเทศทุกช่องทางการสื่อสาร การเข้าถึงเครือข่ายสารสนเทศสะดวก คล่องตัว และรวดเร็ว และมีการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศทั้งในและนอกองค์กร
5 การมีส่วนร่วม (Collaboration) ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมรับผิดชอบสถานศึกษา เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างพันธมิตร
6 การจัดการความสัมพันธ์ (Relationship Management) สถานศึกษาสร้างวัฒนธรรมทำงานเป็นทีม (Teamwork) สถานศึกษานำหลักการการกำกับดูแลกิจกรรมมาเป็นแนวทางในการทำงานร่วมกัน
7 การจัดการความเสี่ยง (School Risk Management) สถานศึกษามีการบริหารจัดการทุกระบบในลักษณะป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหรืออุปสรรค
8 การจัดการสมรรถนะบุคลากร (Personal Competency Management) ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มุ่งมั่นในการทำสิ่งต่างๆ ให้ดีกว่าเดิม คณะกรรมการสถานศึกษามีความผูกพัน รู้สึกเป็นเจ้าของสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษา
9 การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) สถานศึกษามีบรรยากาศของการเป็นองค์กรวิชาการ
ทดสอบ2ครั้ง โดยผู้วิจัยได้นำรูปแบบการจัดการซัพพลายเชนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ไปตรวจยืนยัน (Verification) ด้วยวิธีอิงผู้ทรงคุณวุฒิ ( Ethnographic Future Research : EFR) จำนวนทั้งสิ้น 15 คน
ครั้งที่ 1
ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นพ้องต้องกันว่า การนำหลักการแนวคิดการจัดการซัพพลายเชนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ไปใช้ในการศึกษาเป็นไปได้แน่นอน แต่อาจไม่ได้ผลทันที เพราะผลผลิตของสถานศึกษา คือ ผู้เรียน คือ มนุษย์ การจัดการยาก ซึ่งแตกต่างจากผลผลิตทางธุรกิจ
ครั้งที่ 2
ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นพ้องต้องกันว่า สามารถนำ MODEL นี้มาใช้เป็นต้นแบบของสถานศึกษาได้
ข้อเสนอแนะ
1 ควรมีการวิจัยเชิงทดลองใช้รูปแบบการจัดการซัพพลายเชนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับสถานศึกษาทุกสังกัด ทุกประเภท เช่น สถานศึกษาสังกัดเอกชน สถาบันอาชีวะศึกษา สถาบันอุดมศึกษา เป็นต้น เพื่อสรุปเป็นองค์ความรู้ที่ได้จากรูปแบบและความถูกต้องเหมาะสม
2 ควรศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่บริหารจัดการด้วยรูปแบบการจัดการซัพพลายเชนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
3 ควรมีการศึกษาวิจัยเชิงลึกในแต่ละส่วนของรูปแบบการจัดการซัพพลายเชนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น