วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ทฤษฎีการตลาดชั้นสูง ที่หลายๆคนอยากรู้
พฤติกรรมผู้บริโภค หมายถึง พฤติกรรมของผู้บริโภคในการค้นหา ซื้อ ใช้ ประเมิน และจัดการกับสิ่งเหลือใช้ สินค้าและบริการ ซึ่งผู้บริโภคคาดว่าจะสามารถสนองความต้องของเขา
โดยพฤติกรรมผู้บริโภคจะเกิดได้จากสิ่งกระตุ้นภายนอก โดยสิ่งกระตุ้นภายนอกจะประกอบด้วย
1 สิ่งกระตุ้นทางการตลาด คือ ผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่าย และ การส่งเสริมการตลาด
2 สิ่งกระตุ้นอื่นๆ คือ เศรษฐกิจ เทคโนโลยี การเมือง วัฒนธรรม
โดยลักษณะผู้บริโภค จะประกอบด้วยปัจจัย 4 ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น
1 ปัจจัยด้านวัฒนธรรม
2 ปัจจัยด้านสังคม
3 ปัจจัยส่วนบุคคล
4 ปัจจัยด้านจิตวิทยา
ซึ่งจะส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภค โดยกระบวนการจะประกอบด้วย
1 การรับรู้ปัญหา
2 การค้นหาข้อมูล
3 การประเมินทางเลือก
4 พฤติกรรมภายหลังการซื้อ
และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยกระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภค
1 การเลือกผลิตภัณฑ์
2 การเลือกตรา
3 การเลือกผู้ขาย
4 เวลาในการซื้อ
5 ปริมาณการซื้อ
การวิเคราะห์ STP Segmentation / Target / Position
การวิเคราะห์ STP เครื่องมือในการวิเคราะห์ลูกค้า
กลยุทธ์ STP ซึ่งจะประกอบไปด้วยขั้นตอนสำคัญ 3 ขั้นตอน ดังนี้
การแบ่งส่วนตลาด (Market segmentation)/การเลือกตลาดเป้าหมาย (Target market selection)/การกำหนดตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ (Product position)
ซึ่งกระบวนการทั้ง 3 นี้มาวิเคราะห์ลูกค้าเพื่อตอบสนองความต้องการ
กระบวนการวิเคราะห์ตลาดของผลิตภัณฑ์
Market segmentation
เกณฑ์ในการแบ่งส่วนการตลาดแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
1. ตลาดผู้บริโภค- มีเกณฑ์ในการแบ่ง ออกได้อีก 4 เกณฑ์
1.1 การแบ่งส่วนการตลาดตามลักษณะภูมิศาสตร์ (Geographic segmentation)
1.2 การแบ่งส่วนการตลาดตามลักษณะประชากรศาสตร์ (Demographic segmentation)
1.3 การแบ่งส่วนตลาดตามหลักจิตวิทยา (Psychographic segmentation)
1.4 การแบ่งส่วนตลาดตามพฤติกรรม (Behavioristic segmentation)
2. ตลาดอุตสาหกรรม – มีเกณฑ์ในการแบ่ง ออกได้อีก 3 เกณฑ์
2.1 ทำเลที่ตั้ง (Customer location)
2.2 ประเภทของลูกค้า (Type of customer)
2.3 สภาพการซื้อขาย (Transaction condition) Target market selection
1. กลยุทธ์ตลาดรวม (Market aggregation strategy)
2. กลยุทธ์ตลาดหลายส่วน(Multiple segment strategy)
3. กลยุทธ์เฉพาะตลาดส่วนเดียว(Single segment strategy)
Product position – P
1. การกำหนดตามราคาและคุณภาพ
2. การกำหนดตามลักษณะของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์
3. การกำหนดตามคุณสมบัติและผลประโยชน์
4. การกำหนดตามการใช้และการนำไปใช้
5. การกำหนดตามระดับชั้นผลิตภัณฑ์
6. การกำหนดเพื่อการแข่งขัน
7. การกำหนดโดยใช้หลายวิธีร่วมกัน
1. ตลาดผู้บริโภค- มีเกณฑ์ในการแบ่ง ออกได้อีก 4 เกณฑ์
1.1 การแบ่งส่วนการตลาดตามลักษณะภูมิศาสตร์ (Geographic segmentation)
1.2 การแบ่งส่วนการตลาดตามลักษณะประชากรศาสตร์ (Demographic segmentation)
1.3 การแบ่งส่วนตลาดตามหลักจิตวิทยา (Psychographic segmentation)
1.4 การแบ่งส่วนตลาดตามพฤติกรรม (Behavioristic segmentation)
2. ตลาดอุตสาหกรรม – มีเกณฑ์ในการแบ่ง ออกได้อีก 3 เกณฑ์
2.1 ทำเลที่ตั้ง (Customer location)
2.2 ประเภทของลูกค้า (Type of customer)
2.3 สภาพการซื้อขาย (Transaction condition) Target market selection
1. กลยุทธ์ตลาดรวม (Market aggregation strategy)
2. กลยุทธ์ตลาดหลายส่วน(Multiple segment strategy)
3. กลยุทธ์เฉพาะตลาดส่วนเดียว(Single segment strategy)
Product position – P
1. การกำหนดตามราคาและคุณภาพ
2. การกำหนดตามลักษณะของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์
3. การกำหนดตามคุณสมบัติและผลประโยชน์
4. การกำหนดตามการใช้และการนำไปใช้
5. การกำหนดตามระดับชั้นผลิตภัณฑ์
6. การกำหนดเพื่อการแข่งขัน
7. การกำหนดโดยใช้หลายวิธีร่วมกัน
วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556
Marketing Management แบบเบาๆ
การบริหารการตลาด คือ การวางแผน การบริหาร ราคา ช่องทางการจำหน่าย และ การส่งเสริมการตลาด เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ แนวคิด หรือบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด และบรรลุเป้าหมายขององค์กร ประกอบด้วย 3 กระบวนการคือ การวางแผน การดำเนินงานและการควบคุม
กระบวนการวางแผนงานทางการตลาด แบ่งได้เป็น 4 กระบวนการดังต่อไปนี้
1. การวางแผน (Planning) ประกอบด้วย
- การวิเคราะห์สถานการณ์
- การกำหนดเป้าหมาย
- พัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด
- กำหนดแผนปฏิบัติการ
2. การดำเนินงาน (Implementation) ประกอบด้วย
- จัดผังองค์กรแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ
- ดำเนินการ
3. การควบคุมและประเมินผล (Control and Evaluation) ประกอบด้วย
- ตรวจสอบการดำเนินงานเปรียบเทียบเป้าหมายกับผลการดำเนินงาน
- ค้นหาสาเหตุของปัญหา
4. ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)**
- ข้อมูลสาเหตุของปัญหา และแนวทางการแก้ไข สำหรับการปรับเปลี่ยนแผนงาน หรือนำไปประกอบการตัดสินใจวางแผนงานในอนาคต
โดย Marketing Planning จะวิเคราะห์องค์ประกอบขององค์กร เช่น เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ระยะสั้น หรือ ระยะยาว อดีต หรือ ปัจจุบัน โดยวิเคราะห์ผ่าน SWOT เพื่อทราบจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค และกำหนด Marketing Planning โดยเราต้องวิเคราะห์ STP Segment / Target / Position และนำไป Implement
สิ่งแวดล้อมทางการตลาด (Marketing Environment) มีใครรู้บ้าง ?
สิ่งแวดล้อมทางการตลาด
ประกอบด้วย
1 สิ่งแวดล้อมภายใน (Internal Environment) คือสิ่งที่เราสามารถควบคุมมันได้ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ปัจจัยทางการตลาด ซึ่งประกอบด้วย 4PS และอื่นๆ เช่น ผลิต ตลาด เงิน กำไร และคน ความพึงพอใจลูกค้า
2 สิ่งแวดล้อมภายนอก (External Environment) ซึ่งสิ่งแวดล้อมภายนอกนี้เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ คือ สิ่งแวดล้อมภายนอก ระดับจุลภาค (Micro External Environment) และสิ่งแวดล้อมภายนอกระดับมหภาค (Macro External Environment) ต่างกันที่ระดับความกระทบในระดับจุลภาคนั้นจะอยู่ใกล้ตัวเรา และสิ่งผลกระทบค่อนข้างมากกว่าในระดับมหภาค แต่อย่างไรก็ตามสิ่งแวดล้อมภายนอกนั้นเราไม่สามารถที่จะควบคุมมันได้
และหลังจากฟังอาจารย์แล้ว ขยายความได้
สิ่งแวดล้อมภายนอกระระดับจุลภาค (Micro External Environment)เช่น คู่แข่ง Supplier ลูกค้า
สิ่งแวดล้อมภายนอกระระดับมหภาค (Macro External Environment)เช่น เศรษฐกิจ ประชากรศาสตร์ การแข่งขัน การเมืองกฎหมาย ศาสนา เทคโนโลยี
กำไร = รายได้รวม(TR)-ต้นทุนรวม(TC)
TR= การตลาด คน เงิน การผลิต
การตลาดวัดจาก 4P/7P
คน ความพึงพอใจของลูกค้า
เงิน กำไรสูงสุด
การผลิต ลดต้นทุนการผลิต
First Draft
Gap Model คือ ช่องว่างที่ทำให้บริการไม่ประสบความสำเร็จ
การดำเนินการธุรกิจและบริการ และทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ ซึ่งลูกค้าคาดหวังในด้านธุรกิจและบริการ แต่ถ้าคาดหวังแล้วไม่เป็นอย่างที่ต้องการ ก็จะเกิดแนวความคิดของคุณภาพบริการ ที่เป็นสาเหตุให้ธุรกิจและบริการไม่ประสบความสำเร็จ
Gap 1
ช่องว่างของการไม่ทราบถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค
Gap 2
ช่องว่างของการแปลการรับรู้ระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค
Gap 3
ช่องว่างของข้อกำหนดคุณภาพการบริการ เช่น การบริการมีมาตราฐานที่ชัดเจนและแน่นอน แต่ปรากฏว่าไม่สามารถปฎบัติได้ตามที่ข้อตกลงกำหนด หรืองานมีความขัดแย้งกัน
Gap 4
ช่องว่างของความสัมพันธ์ระหว่างการส่งมอบบริการกับการสื่อสารภายนอก
Gap 5
ช่องว่างระหว่างการบริการที่รับรู้ กับการบริการที่คาดหวังของผู้บริโภค
หลังจากฟังอาจารย์แล้วพบว่า
Gap model
Gap 1
การวิเคราะห์ความคาดหวังคุณภาพระหว่างผู้บริโภค และนักการตลาด
Gap 2
ช่องว่างที่นักการตลาดศึกษาถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคในเรื่องการบริการ
Gap 3
แปลงความคาดหวังให้ผู้บริโภคในด้านคุณภาพและบริการ ด้วยรูปแบบที่เป็นมาตราฐานชัดเจน
Gap 4
การสื่อสารภายนอกให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจ
Gap 5
ความสัมพันธ์ ระหว่างความคาดหวัง และ ทัศนคติที่ลูกค้าได้รับ
วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556
CRM ใครว่าไม่สำคัญ
หลายคนเคยศึกษาถึง CRM และนำเอา CRM เข้ามาเป็นส่วนหนึงในกลยุทธทางการตลาด
CRM คือ การเพิ่มความสัมพันธ์อันดีให้กับลูกค้า เพิ่มรายได้ลดค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องค่าใช้จ่ายในการแสวงหาลูกค้า และ เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด ( Customer Satisfaction ) โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้าซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ
ซึงประโยชน์จากการทำ CRM มีดังต่อไปนี้
1 Sale Revenue Increase การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า ให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ เกิดความจงรักภักดี ซื้อซ้ำ และ บอกต่อ(Customer Loyalty)
2 Customer Life Cycle Management เริ่มจากการหาลูกค้าใหม่ ขยายฐานลูกค้า ตอบสนองความต้องการ สร้างจุดต่างด้านสินค้า และ บริการ รักษาลูกค้าเดิม โดยสร้างความสัมพันธ์อันดี
3 Improving Integration of Decision Making Process เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจซื้อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกิจกรรมทางการตลาด โปรโมชั่น ตลอดจนแนะนำสินค้าใหม่
4 Enhanced Operational Effiency เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น Marketing Customer Service Support Operation หรือแม้กระทั่ง IT และ Sale
5 Speed of Service เพิ่มความรวดเร็วในด้านสินค้า และ บริการ
6 Gathering More Comprehensive Customer Profiles รวบรวมรายละเอียดต่างๆ ของลูกค้า
7 Decrease General Sales and Marketing Administration Costs)ลดต้นทุนในทุกๆด้าน ตัดกระบวนการไม่จำเป็นที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
8 Value Added เพิ่มมูลค่าสินค้า และ บริการ เพื่อตอบสนองความต้องการสูงสุดของลูกค้า สร้างความพึงพอใจ
วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ยุทธศาสตร์การตลาด Marketing Tactics
การตลาดคือ การทำธุรกิจเพื่อให้เกิดสินค้าหรือบริการจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และทำให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจสูงสุด ขณะเดียวกันก็บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการนั้นคือ กำไร
ยุทธศาสตร์การตลาด Marketing Tactics สินค้า ประกอบด้วย 4P Product Price Place Promotion แต่สำหรับ ธุรกิจบริการ 7P ประกอบด้วย People Physical Evidence Process Management
โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการทำตลาด สิ่งแวดล้อมทางการตลาด (Market Environment)ซึ่งประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมภายนอก และ สิ่งแวดล้อมภายใน
สิ่งแวดล้อมภายนอก (External Environment) ประกอบด้วย ประชากรศาสตร์ เศรษฐกิจ การแข่งขัน สังคม วัฒนธรรม การเมือง กฎหมาย เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อมภายใน (Internal Environment ) ประกอบด้วย ปัจจัยทางการตลาด 4 P Product Price Place Promotion นอกเหนือจากปัจจัยการตลาด จะประกอบด้วย ฝ่ายการผลิต การเงิน ทรัพยากรมนุษย์ ที่ตั้งบริษัท ความสำเร็จในการวิจัยและพัฒนา ภาพพจน์ของบริษัท
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)